Category Archives: อินเตอร์เน็ต

เด็กที่เติบโตแบบได้รับความรักเต็มที่เขาจะรับรู้อารมณ์ได้เร็วกว่าคนอื่น

2ช่วงวัย 0-12 เดือน ทฤษฎีฝรั่งกล่าวว่ามนุษย์เราเกิดมาเป็นสิ่งที่อ่อนแอที่สุดในโลกไม่สามารถคลานไปหาอาหารกินได้เหมือนสัตว์ชนิดอื่นๆ พ่อแม่คือคนสำคัญที่จะทำให้เขาเติบโตขึ้นมาได้ และสัมผัสแห่งความรักเหมือนเป็นน้ำหล่อเลี้ยง เติบโตงอกงามเป็นคนที่สมบูรณ์ หากเด็กวัย 0-12 เดือน ได้รับความรักเต็มที่แล้ว เด็กจะมีแนวโน้มเติบโตมาเป็นเด็กดีมากขึ้น การวิจัยด้านจิตวิทยาเด็ก พบว่า เด็กที่ผูกพันกับแม่จะมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา เด็กกลุ่มที่ผูกพันกับแม่มากๆ เพราะแม่คือสัมผัสแห่งรัก หรือคนที่รักเขาได้เท่ากับแม่ความรักที่ทารกได้รับเขาจะเติบโตมาอย่างรักคน อื่นเป็น เห็นอกเห็นใจผู้อื่น

เด็กที่เติบโตแบบได้รับความรักเต็มที่เขาจะรับรู้อารมณ์ได้เร็วกว่าคนอื่น เขาจะรู้เร็วว่าคนนี้โกรธเขาอยู่ เพราะสิ่งที่เขาทำนั้นไม่ถูก เด็กจะไม่ทำผิด เพราะกลัวว่าคนที่เขารักจะเสียใจ ยิ่งเมื่อเด็กโตขึ้นคนรอบข้างก็จะยิ่งมีความสำคัญกับเขาไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นคนดีโดยนิสัย คือ ทำผิดแล้วรู้สึกละอาย ความรู้สึกจะค่อยๆ ก่อร่างสร้างตัวเรื่อยๆ แม้ทารกจะเล็กมาก แต่ทารกไม่ได้จดจำได้ว่าเป็นสัมผัสจากคนนี้ แต่สัมผัสความรักจะไปหล่อเลี้ยงฝังรากลึกในสมองและร่างกาย สำหรับทฤษฎีฝรั่งที่นำมาปรับใช้ให้เหมาะกับคนไทยนั้น พ่อแม่จะต้องศึกษาลงลึกให้ถึงแก่นที่ถูกต้อง และเลือกปรับใช้ให้เหมาะกับสังคมและบริบทของคนไทย

ผู้ใหญ่บางคนบอกว่า อย่าอุ้มเด็กเยอะเดี๋ยวติดมือ ลูกร้องอย่าเพิ่งไปโอ๋ เด็กจะได้รู้สึกรอหรืออดทนนี่คือทฤษฎีไทย แต่ทฤษฎีฝรั่งให้อุ้ม ลูกเราอุ้มไปเหอะ การอุ้มคือสัมผัสร่างกายที่เด็กโหยหาตลอด คือสัมผัสแห่งรัก คือการเติมเต็ม เมื่อทารกร้องแม่ต้องเข้าไปอุ้ม ถ้าไม่อุ้มทารกจะคิดว่า ฉันไม่มีค่าพอให้อุ้มเลยหรือ ทารกร้องไม่อุ้มเหมือนความต้องการของเขาไม่ถูกเติมเต็ม ยิ่งวัยขวบปีแรกยิ่งต้องเต็ม เมื่อความรักเขาเต็มที่ แล้วเขาก็จะสามารถหยิบยื่นความรักให้คนอื่นได้ รักตัวเองในแบบไม่ต้องโตไปต้องให้เพื่อนยอมรับ ไม่ต้องติดยาเหมือนเพื่อน แต่ถ้าเด็กไม่รู้สึกอิ่มความรักตั้งแต่แด็ก พ่อแม่ยังไม่ยอมรับเขา เขาจะออกไปหาการยอมรับจากเพื่อน เพราะเขาหาเองไม่ได้จากบ้าน อยากให้ลูกน้อยหัดรอ แต่ไม่ใช่อายุเท่านี้ การโอ๋ไม่ใช่การตามใจ คำว่าโอ๋คือเรากำลังช่วยให้เขารู้สึกดีกับความรู้สึกไม่ดีที่เกิดอยู่ภายใน ทารกเกิดความทุกข์เขาจึงร้องไห้ โอ๋เพื่อช่วยให้เขารู้สึกดีขึ้น แอนนี่ให้อายุ 0-3 ขวบสำคัญ แต่ 0-12 เดือนสำคัญที่สุด อย่างทฤษฎีตะวันตกให้แยกห้องนอนตั้งแต่ลูกอายุ 3-6 เดือน แต่เมื่อพ่อแม่ไทยเลือกที่จะแยกก็ต้องยอมรับด้วยว่า ลูกเมื่อโตขึ้นเขาจะแยกครอบครัวออกไปเร็วมากๆ

ความล้มเหลวในชีวิตของเด็กและเยาวชนเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจ

14ในปัจจุบันเด็กและเยาวชนยังมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสังคมมากมาย เช่น ติดการพนัน ติดเกม การมั่วสุ่มในหอพัก ไม่ชอบไปโรงเรียน หนีเรียน ทะเลาะ ชกต่อย หมกหมุ่นกับสื่อที่ไม่สร้างสรรค์มีปัจจัยดังนี้  ครอบครัวเป็นสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพและพฤติกรรมของเด็กเยาวชน พฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเด็กและเยาวชนเป็นผลมาจากการเลี้ยงดูด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสมส่งเสริมให้แสดงออกในทางที่ไม่ถูกต้องปล่อยปละละเลยเรียนรู้การใช้ความรุนแรงจากสมาชิกในครอบครัวครอบครัวแตกแยกผู้ปกครองบีบบังคับ กดดันและคาดหวังในตัวเด็กเกินกว่าความเป็นจริงไม่มีบรรยากาศทีสร้างความรัก ความอบอุ่น ความสมัครสมานสามัคคีเติบโตในท่ามกลางความสับสนไม่มีความหวัง  ขาดการอบรมบ่มนิสัยและไม่มีจุดหมายปลายทางในชีวิต

โรงเรียนเป็นบ้านหลังที่สองของเด็กเป็นบ่อเกิดของคุณงามความดีโดยเฉพาะการพัฒนาศักยภาพ ความรู้ ความสามารถของเด็กและเยาวชนให้ทรัพยากรมนุษย์ท่มีคุณค่าของสังคม แต่โรงเรียนจำนวนไม่น้อยยังขาดความพร้อมที่จะทำให้เด็กและเยาวชนเป็นคนที่สมบรูณ์ตามความมุ่งหวังของสังคมจากาติดตามพบว่า โรงเรียนขาดการดูแลเอาใจใส่นักเรียนอย่างจริงจังขาดการจัดการที่เหมาะสมต่อการพิทักษ์ ปกป้อง คุ้มครองและการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ได้อย่างเท่าทัน  ทั่วถึง  ถูกต้องและเป็นธรรม จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล  ให้ความสำคัญกฏระเบียบมากกว่าชีวิตจิตใจของนักเรียน  พัฒนาผู้เรียนโดยไม่คำนึงถึงองค์รวมตลอดถึงการจัดการแก้ปัญหาของนักเรียน โดยขาดการมีส่วนร่วม  และยังเลือกใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาพฤติกรรมนักเรียน

ความล้มเหลวในชีวิตของเด็กและเยาวชนเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจ และต้นทุนทางความรู้สึกของผู้ปกครองอย่างประเมินค่าไม่ได้ สังคมไทยยังละเลยต่อการจัดระเบียบแบบแผนในชุมชน  ชุมชนอ่อนแอขาดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างสมาชิกในสังคมต่างคน ต่างอยู่ เอาหูไปนา เอาตาไปไร่ ปล่อยให้มีการแสวงหาผลประโยชน์จากเด็กและเยาวชน ยอมรับการเติบโตและขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ไม่สร้างสรรค์ ละเลยต่อปัญหาของเด็กและเยาวชน ยอมรับการเติบโตและขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ไม่สร้างสรรค์ละเลยต่อปัญหาของเด็กและเยาวชน ไม่ให้ความสำคัญต่อท่าทีของเด็กและเยาวชน มองเด็กและเยาวชนที่มีประสบปัญหาด้วยทัศนะและท่าทีที่ตอกย้ำซ้ำเติม

การส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาของเด็กวัย 3-4 ปี

12

พัฒนาการทางภาษาเด็กอายุ 3 – 4 ปีช่างพูดจา มีเหตุมีผลชอบใช้คำถามว่า อะไร อย่างไร ทำไม เมื่อไรเข้าใจภาษาพูดง่ายๆ ของผู้ใหญ่ แต่จะยังไม่เข้าใจในสิ่งที่มองเห็น ยังไม่เข้าใจความหมาย คำสั่งหรือคำขอร้องจากผู้ใหญ่พัฒนาการทางภาษาเจริญเร็วมาก จะตั้งคำศัพท์ใหม่ๆ หรือเรียกชื่อสิ่งที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนได้ เด็กบางคนจะคิดคำพูดสร้างท่วงทำนองการพูด และทำเสียงแปลกๆ และชอบใช้คำว่า “สมมติว่า…” รู้จักและเข้าใจคำศัพท์ เช่น คำบอกตำแหน่ง คำบอกกาลเวลา คำบอกความรู้สึกและความคิดที่เป็นนามธรรมได้ เช่น ดี เหนื่อย หนาว ร้อน อุ่น และรู้จักการปฏิเสธจะรู้จักนำเอาคำศัพท์มาเรียงเป็นคำพูด และจะพูดได้ยาวขึ้น มีกฏเกณฑ์ทางไวยากรณ์มากขึ้น เรียงประโยคได้ถูกต้องบางคนที่เคยพูดช้าหรือไม่ค่อยพูดตอนอายุ 2 ปี จะพูดเยอะมาก กลับกันบางคนอาจจะพูดติดอ่างเด็กจะเริ่มหัดอ่าน ยังไม่มีอารมณ์ร่วม และยังอ่านเรื่องตลกไม่เข้าใจ

เด็กมักสงสัยและมีคำถามมากมาย ควรตอบคำถาม ด้วยคำตอบง่ายๆ สั้นๆ และใช้ภาษาที่ถูกต้องอ่านหนังสือให้เด็กฟัง และใช้หนังสือภาพ มาประกอบการเล่าเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น และกระตุ้นให้เด็กใฝ่รู้มากขึ้นอ่านบทอาขยานสั้นๆ ง่ายๆ หรือคำคล้องจอง จะช่วยให้เด็กเรียนรู้พื้นฐานของระบบเสียงที่เกี่ยวข้องกับการอ่านได้ง่ายขึ้นสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เรื่องลำดับก่อนหลัง สิ่งที่เป็นนามธรรม ได้แก่ สี ขนาด จำนวน เป็นต้นสอนให้เด็กรู้จักคำศัพท์หรือคำพูดที่บอกอารมณ์ความรู้สึกทั้งของตนเองและผู้อื่น เช่น ถ้าเด็กรู้สึกโกรธ เมื่อถูกแย่งของเล่น ควรสอนให้เด็กเข้าใจว่า อารมณ์ที่เกิดขึ้นคือ อารมณ์โกรธ โดยพูดว่าหนูรู้สึกโกรธที่ถูกแย่งของเล่นเมื่อเด็กพูดคำหยาบ ไม่ควรดุหรือลงโทษ เพราะเด็กยังไม่เข้าใจความหมายของคำหยาบ ควรสอนให้ใช้คำอื่นแทน

พัฒนาการทางภาษาและการส่งเสริมเด็กในช่วงปฐมวัย หรือวัย 3-4 ปี ถือเป็นช่วงตกผลึกทางภาษา เด็กจะมีพัฒนาการดีในด้านการใช้ภาษา เรียนรู้คำใหม่ๆ ได้มากขึ้น ออกเสียงได้สมบูรณ์ ถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี มีการใช้ภาษาได้ถูกต้อง และมักจะชอบถามคำถามถึงสิ่งต่างๆ รอบตัวเด็กในช่วงอายุ 3-4 ปี จะอยู่ในระยะขยาย (The Stage of Expansion) จะเริ่มหัดพูดเป็นคำๆ ระยะแรกจะเป็นการพูดโดยเรียกชื่อคำนาม เรียกชื่อคนที่อยู่รอบข้าง สิ่งของต่างๆ ที่อยู่รอบตัว รวมทั้งคำคุณศัพท์ที่เด็กได้ยินผู้ใหญ่พูดกันเด็ก วัยนี้มีความสนใจสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว เช่น คน สัตว์ สิ่งของ ธรรมชาติ ของเล่น ชอบฟังคำพูดซ้ำๆ สั้นๆ คําคล้องจอง ชอบฟังนิทานสั้นๆ ดูการ์ตูน ชอบดูรูป สี ดูตัวหนังสือน้อย ดูรูปมาก แต่เด็กวัยนี้จะมีความสนใจในระยะสั้นมาก ประมาณ 5–10 นาที

การเลี้ยงดูเด็กในยุคดิจิตอลกับครอบครัวไทยในปัจจุบัน

ในโลกยุคปัจจุบันที่ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตมนุษย์ ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกใบนี้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เราต้องยอมรับว่าเด็กรุ่นใหม่เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้เทคโนโลยี จนกลายเป็นปัจจัยที่ห้าของชีวิตไปแล้ว ในทางกลับกัน ขณะที่ยุคดิจิตอลกำลังรุ่งเรืองนั้น มีกระแสสร้างความตื่นเต้นให้กับสังคมไทยกับสถิติที่น่าวิตกกังวลใจ ทุกวันนี้คนไทย การดำเนินชีวิตประจำวันล้วนมีเรื่องของเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาเกี่ยวข้องทั้งนั้น ในยุคของการพัฒนาทางเทคโนโลยีที่ทำให้บ้านเมืองเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เป็นที่หน้าสังเกตว่า ความสัมพันธ์ ตลอดจนรูปแบบการดำเนินชีวิตของครอบครัวไทย ในปัจจุบันมีความแตกต่างไปจากครอบครัวไทยในอดีต พ่อ แม่ ลูก ห่างเหินกันมากขึ้น แต่ละคนต่างเป็นอิสระต่อกัน มีทิศทางของตนเองทุกคนในครอบครัวใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่สังคมนอกบ้านทำงานหนัก เรียนหนัก บ้านเป็นเพียงที่พักพิงยามสมาชิกหมดภารกิจพ่อแม่ ผู้ปกครอง ก็มีวิธีการเลี้ยงดูหลานที่แตกต่างไปจากเดิม พ่อ แม่ทำงานเหนื่อยกลับมาบ้านอยากพักผ่อนบ้างเป็นผลใกล้คราวใกล้ชิดสนิทสนมตามแบบธรรมเนียมไทยลดลง หลายครอบครัวเลี้ยงลูกด้วยวิทยาการสมัยใหม่ให้เครื่องยนต์กลไกเป็นผู้ดูแลอบรมสั่งสอนลูกแทนตน ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ วีดิโอ อุปกรณ์การเล่นอันทันสมัยนานาชนิด

อีกอย่างหนึ่งที่ตามมา ในยุคที่อุดมไปด้วยความเจริญรวดเร็วนี้ ก็เห็นจะได้แก่ ความวิตกกังวลของผู้เป็นพ่อแม่ ที่เกรงว่าลูกหลานของตนจะรู้น้อยกว่าเด็กอื่น ไม่ทัดเทียมลูกบ้านอื่น ดังนั้นเด็กตัวเล็กๆ จึงถูกผู้ใหญ่กักเกณฑ์ให้ทำสิ่งต่างๆ ที่เกินวัยของเข้าอยู่ตลอดเวลา สมองน้อยๆ ของพวกเขา ต้องคิด ต้องจดจำ รับรู้ความรู้วิทยาการต่างๆ มากขึ้น ต้องเรียนให้หนัก ต้องเรียนพิเศษ ต้องหาความสามารถพิเศษใส่ตัว เด็กเองก็เกิดความรับรู้ว่าตนจะต้องทำแบบนั้นเพราะ ใครๆ เขาก็ทำกัน ถ้าไม่ทำก็สู้คนอื่นไม่ได้ หรือแม้ไม่อยากทำเด็กถูกผู้ใหญ่ใส่ความคิดให้อยู่ทุกวันว่าต้องทำ แล้วสมองน้อยๆ ความคิด ความรู้สึกอันบริสุทธิ์ของเขาก็ซึมซับเอาความคิดเหล่านี้ไว้โดยปริยาย

สำหรับปัญหาที่เกี่ยวกับการพัฒนาสมองเด็กไทยในยุคดิจิตอลนั้น คือ สื่อผ่านจอทุกประเภทเปรียบเหมือนดาบ 2 คม เพราะถ้าใช้เป็น ก็ถือเป็นคุณอนันต์ ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มากมาย แต่ถ้าใช้ไม่เป็น ก็จะให้โทษมหันต์เช่นกัน คุณพ่อคุณแม่อาจภูมิใจว่าลูกสามารถเล่นอุปกรณ์เหล่านี้ได้คล่องแคล่ว โดยอาจลืมไปว่า อุปกรณ์เหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กขาดปฏิสัมพันธ์กับคุณพ่อคุณแม่ ขาดทักษะการสื่อสาร 2 ทาง ในปัจจุบันการดูทีวีและการใช้สื่อผ่านจอทุกประเภทเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก พ่อแม่จึงต้องรู้เท่าทันสื่อ รู้จักเลือกสรรรายการที่เป็นประโยชน์ และสามารถเพิ่มพูนประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ลูกน้อยมากขึ้น พ่อแม่ควรให้คำชี้แนะอยู่ข้างๆ และต้องกำหนดเวลาการใช้สื่อเหล่านี้ให้ไม่เกินวันละ 1-2 ชั่วโมง เพื่อจะได้เหลือเวลาไปทำกิจกรรมอื่นที่มีประโยชน์เช่นกัน และเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 ปียังไม่ควรดูทีวี

สิทธิขั้นพื้นฐานของเด็กและความเอาใจใส่จากพ่อแม่และผู้ใหญ่ในสังคม

16

เด็กทุกคนที่เกิดมา ต้องการความรักและความเอาใจใส่จากพ่อแม่และผู้ใหญ่ในสังคม นอกจากนี้พ่อแม่ ผู้ใหญ่ก็จะต้องปฏิบัติต่อเด็กในฐานะที่เป็นมนุษย์ด้วยกัน ต้องไม่ดูถูกเหยียดหยามเด็กที่มีเชื้อชาติ หรือสีผิว หรือมีฐานะแตกต่างไปจากตน ไม่ว่าจะใช้ความรุนแรงรูปแบบต่างๆ ต่อเด็ก พ่อแม่หรือผู้ใหญ่ต้องทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีและกระทำในสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อเด็ก ทั้งนี้เพื่อทำให้เด็กอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและเติบโตเป็นคนดีของสังคม เด็กทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็กที่ด้อยโอกาสในลักษณะใดก็ตาม เช่น เด็กพิการ เด็กที่ถูกทอดทิ้ง เด็กเร่ร่อน เด็กถูกทารุณกรรม เด็กที่ถูกใช้แรงงานอย่างผิดกฎหมายและโสเภณีเด็กจะต้องได้รับสิทธิพื้นฐาน 4 ประการ ดังนี้

สิทธิในการมีชีวิต เด็กทุกคนเมื่อเกิดมาแล้วจะมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ไม่ว่าจะเกิดมามีร่างกายที่สมบูรณ์หรือไม่ก็ตาม โดยเด็กที่เกิดมาต้องได้รับการจดทะเบียนการเกิด มีสิทธิที่จะได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีที่สุด ทั้งด้านสุขภาพร่างกาย จิตใจ ที่พักอาศัย โภชนาการและการบริการทางการแพทย์เมื่อป่วยไข้ โดยบิดา มารดา ญาติพี่น้องหรือรัฐ เพื่อให้อยู่รอดและเจริญเติบโต สิทธิในการมีชีวิต เช่น สิทธิรับวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ สิทธิที่จะได้รับอาหารในปริมาณที่เพียงพอและสะอาด สิทธิที่จะได้รับปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค เป็นต้น

สิทธิในด้านพัฒนาการ เด็กทุกคนจะได้รับสิทธิให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับพัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจ สังคม รวมถึงความต้องการ ความพึงพอใจ และความสุขของเด็ก ได้แก่ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมครอบครัว ของโรงเรียน และสังคมที่เด็กอยู่ได้อย่างมีความสุข ได้มีโอกาสเล่น พักผ่อน ได้รับข้อมูลข่าวสาร มีอิสระในการคิดและการแสดงออก ได้รับการกล่อมเกลาทางด้านจิตใจ ความรู้ ความคิดที่เหมาะสมกับวัย ที่สำคัญที่สุด เด็กทุกคนต้องได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี

สิทธิในการมีส่วนร่วม เป็นสิทธิที่ให้ความสำคัญกับการแสดงออกทั้งในด้านความคิดและการกระทำของเด็ก ในการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่อาศัยอยู่ รวมทั้งสิทธิในการปกป้องเรียกร้องผลกระทบที่เกิดกับชีวิตความเป็นอยู่ของเด็ก ด้วยการอนุญาตให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตนเองและสามารถแสดงความคิดเห็นโดยไม่กระทบสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น