Tag Archives: การดูแลเด็ก

อย่าใช้เทคโนโลยีในการดูแลเด็ก

ฟังคำแนะนำจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ เผยการดูแล-ใกล้ชิดลูก คือภูมิคุ้มกันชั้นยอด แนะผู้ปกครองอย่าใช้อารมณ์เป็นทางออก ใช้หากิจกรรมอื่นสร้างประโยชน์ ช่วยดึงความสนใจเด็กจากแท็บเล็ต-สมาร์ทโฟน-คอมพ์ ได้…

ความบันเทิงประเภท “เกม” มักจะเป็นเครื่องคลายเครียด คลายเหงา แถมยังเป็นพฤติกรรมเพลินๆ ที่ช่วยฆ่าเวลาว่างให้เราได้ดีเสมอมา แต่… เมื่อใดก็ตามที่เกิดเหตุการณ์หรือปัญหา อาทิ การฉ้อโกง ความรุนแรง ความเสียหาย หรือแม้แต่การล่อลวงขึ้นในสังคม จากเกมที่เคยเป็นศูนย์รวมความบันเทิง กลายเป็นอบายมุขไปทันที

เห็นกันง่ายๆ ใกล้ตัว และปรากฏเป็นข่าวร้อนตามสื่อต่างๆ เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมากที่สุดข่าวหนึ่ง คงจะหนีไม่พ้นเรื่องราวชวนตะลึง หลังจากผู้เป็นแม่เปิดโอกาสให้ลูกนำสมาร์ทโฟนไปเล่นเกม ทำให้จุดเริ่มต้นความบันเทิงใกล้ตัวอย่างเกมบนมือถือ กลายเป็นหนี้สินไปในชั่วพริบตา

“ปัญหาเกี่ยวกับการเล่นเกมมีให้เราพบเห็นมาก ก็เพราะเทคโนโลยีเข้าใกล้เยาวชนมากขึ้น พ่อแม่จำเป็นต้องดูแลลูกให้ใกล้ชิด เมื่อเกิดปัญหา บางคนบอกว่าจะไม่ให้ลูกเล่นเกมอีกแล้ว ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีสำหรับเด็กเล็ก แต่กับเด็กวัยรุ่นที่กำลังโตคงไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะห้ามพวกเขา เพราะปัจจุบันเกมกลายเป็นสังคมหนึ่งของเด็กๆ ไปแล้ว

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ยังแนะนำด้วยว่า ผู้ปกครองควรเลือกใช้ทางสายกลาง เช่น อนุญาตให้ลูกเล่นเกมได้แต่จะต้องเลือกเกม กำหนดเวลาการเล่น หรือตั้งกติการ่วมกันในการเล่นเกมแต่ละครั้ง หากเล่นเกมเกินเวลาหรือใช้เงินซื้อไอเทมเกมออนไลน์โดยไม่ขออนุญาต อาจต้องมีบทลงโทษห้ามเล่น 3 วัน หรือ 1 สัปดาห์ เพื่อฝึกและควบคุมพฤติกรรมพวกเขาตั้งแต่ตอนยังเป็นเด็ก นอกจากนี้ยังควรต้องหากิจกรรมอื่นให้ทำมากกว่าการเล่นเกม อาทิ ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ หรือเล่นเกมแบบไทยๆ เพราะนอกจากจะทำให้ได้เคลื่อนไหวร่างกายมากกว่าการนั่งกดมือถือ-แท็บเล็ต เพื่อเล่นเกมแล้ว ยังได้ฝึกทักษะการเข้าสังคมอีกด้วย แต่หากไม่อยากให้เกิดปัญหาเรื่องการเล่นเกมตามมา ผู้ปกครองควรกำหนดกติการ่วมกับบุตรหลานตั้งแต่แรก เนื่องจากการป้องกันนั้นดีกว่าการแก้ไข นอกจากนั้น พ่อแม่ก็ต้องใกล้ชิด ดูแล และพยายามดึงลูกหลานออกมาทำกิจกรรมอื่นๆ ด้วย

“นอกจากเป็นพ่อแม่ผู้ปกครองแล้ว ควรเป็นเพื่อนให้กับลูกๆ ด้วย นอกจากการสอนให้ลูกรู้จักการคิดและตัดสินใจ ก็ควรสอนให้เขาเท่าทันสังคมด้วย แม้จะเป็นการพูดย้ำๆ ซ้ำๆ ก็จำเป็นต้องทำ แต่การสั่งหรือแนะนำก็ต้องไม่ใช้อารมณ์ พูดบ่อยได้แต่ก็ต้องไม่มากไปไม่น้อยไป นอกจากวัยเด็กจะต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดแล้ว วัยรุ่นก็เป็นวัยที่พ่อแม่ต้องดูแลเช่นกัน แต่พฤติกรรมการดูแลอาจจะไม่ต้องใกล้ชิดมากเท่ากับวัยเด็ก ควรจะถอยห่างออกมาให้เขาได้มีอิสระและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ใหญ่จะสอนเด็กก็ควรต้องทำตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดีด้วย ไม่ใช่ว่าห้ามลูกเล่นเกมแต่ทุกครั้งที่เจอหน้ากันก็เอาแต่กดมือถือจนไม่เงยหน้ามองคนในครอบครัว”

การดูแลช่วยเหลือเด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวให้มีพฤติกรรมที่ดีต่อไป

วัยเด็กเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ เด็กๆ จะเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวก่อน โดยเฉพาะครอบครัวซึ่งถือว่าเป็นสิ่งแวดล้อมแรกของชีวิต เป็นจุดเริ่มต้นของพฤติกรรมทุกพฤติกรรมตั้งแต่ความนุ่มนวลอ่อนโยนจนถึงความก้าวร้าว ในปัจจุบันนี้มีเด็กๆ เป็นจำนวนมากที่หลายคนมองว่าเขาเป็นเด็กก้าวร้าว เพราะเห็นภาพเด็กแสดงความรู้สึกที่รุนแรงเมื่อไม่ได้ดังใจ เด็กที่ควบคุมตัวเองไม่ได้จะแสดงพฤติกรรมที่ขาดการยับยั้ง ไม่รู้ถึงผลที่ตามมา ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุเช่น ขาดแบบอย่างที่ดีให้ทำตาม ไม่ได้รับการช่วยเหลือชี้แนะแนวทางการแสดงออกที่เหมาะสม มีความเจ็บป่วยทางร่างกายหรือสมอง ซึ่งการดูแลช่วยเหลือเด็กก้าวร้าวนั้นสามารถทำได้ดังนี้

วางแผนการช่วยเหลือเด็กแต่ละคนให้เหมาะสมกับวัยของเด็กตรวจสอบดูว่าเป็นพฤติกรรมก้าวร้าวจริงหรือไม่ เด็กบางคนที่บ้านของเด็กหยาบคาย ก้าวร้าวเป็นกิจวัตร ภาพปกติของเด็กคนนั้นจึงหยาบคายก้าวร้าวผู้ดูแลพูดบอก สอนให้เด็กแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม เสนอทางเลือกให้เด็ก เช่น “หนูต้องขอก่อนแล้วรออีกหน่อยนะ” “ตีไม่ได้ ยืนนิ่งๆก่อน” “ของนี้มีไว้เล่นแบบนี้ ขว้างไม่ได้” “ถ้าหนูเล่นโดยไม่ตีเพื่อน เพื่อนจะเล่นกับหนู แล้วจะสนุกมากด้วย” ใช้เครื่องตั้งเวลาในการกำหนดเวลาเล่นของเล่นซึ่งเป็นเวลาที่ได้ตกลงกันตั้งแต่ก่อนเล่นของเล่นเสียเครื่องตั้งเวลาจะเป็นสัญญาณการยุติการเล่นให้เด็กได้มีโอกาสเลือกของเล่นด้วยตนเองก่อนที่ผู้ดูแลจะเสนอของเล่นแก่เด็กหากเด็กยังแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวอย่างต่อเนื่อง ให้ใช้เทคนิคการใช้เวลานอก เช่น เก็บของเล่นที่เด็กกำลังเล่นชั่วคราว ให้เด็กออกจากการเล่นชั่วระยะเวลาหนึ่งเมื่อสงบแล้วกลับมาเล่นต่อได้

ในการดูแลช่วยเหลือเด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวนั้นจะต้องทำอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่องหาสาเหตุของความก้าวร้าวให้ชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้การดูแลครอบคลุมมากขึ้น ผู้ดูแลสื่อสารกับเด็กอย่างชัดเจนให้เข้าใจตรงกันว่าทำร้ายผู้อื่นไม่ได้ เด็กจะต้องทำอย่างเมื่อโกรธ ผู้ดูแลจะช่วยเหลือเด็กอย่างไรบ้าง ซึ่งจะช่วยให้เด็กรับรู้ว่ากำลังได้รับการช่วยเหลือให้ผ่านพ้นภาวะที่กดดัน นี้ไปอย่างไม่โดดเดี่ยว รวมทั้งยังได้รับบทเรียนที่มีประโยชน์ มีประสบการณ์ชีวิตในการควบคุมอารมณ์ความรู้สึกของตนเองเมื่อเติบโตเป็น ผู้ใหญ่